สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครปากเกร็ด

 

1.ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางห่างจากจังหวัดนนทบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งเป็นปริมณฑลติดกับกรุงเทพมหานคร

2.อาณาเขต
 
อาณาเขตติดต่อ :
ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันตก ติดต่อ แม่น้ำเจ้าพระยา (ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปาเกร็ด)

3. พื้นที่
เทศบาลนครปากเกร็ดมีพื้นที่ปกครอง 36.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้น 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน

4.ทะเบียนราษฏร
4.1 ข้อมูลบ้านและครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
จากข้อมูลด้านทะเบียนราษฏรของเทศบาลนครปากเกร็ดซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ปกครอง 5 ตำบล โดยมีจำนวนหมู่บ้านตามเขตปกครองรวม 34 หมู่บ้าน มีจำนวนบ้านรวม 131,281 หลัง และจำนวนครัวเรือนรวม 72,831 ครัวเรือน โดยแสดงรายละเอียดจำแนกตามตำบลไว้ ดังนี้

ตารางที่ 1 ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน จำนวนบ้าน และจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

ตำบล จำนวนหมู่บ้าน จำนวนบ้าน จำนวนครัวเรือน
ตำบลปากเกร็ด 5 23,095 13,033
ตำบลบางพูด 9 44,937 23,007
ตำบลบ้านใหม่ 6 35,523 16,351
ตำบลบางตลาด 10 24,372 15,225
ตำบลคลองเกลือ 4 10,354 5,215
รวม 34 138,281 72,831

อัตราเฉลี่ยประชาการ 5,261 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566

4.2 ข้อมูลจำนวนประชากร
ปัจจุบันในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดมีประชากรตามข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฏรเทศบาลนครปากเกร็ดจำนวนทั้งสิ้น 189ม589 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 87,507 คน เพศหญิง จำนวน 102,082 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 5,261 คนต่อตารางกิโลเมตร

ตารางที่ 2 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดจำแนกตามเพศ

ตำบล ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
ตำบลปากเกร็ด 16,708 19,595 36,303
ตำบลบางพูด 28,816 34,533 63,349
ตำบลบ้านใหม่ 16,424 18,679 35,103
ตำบลบางตลาด 21,318 23,767 45,085
ตำบลคลองเกลือ 4,241 5,508 9,749
รวม 87,507 102,082 189,589

ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566

ตารางที่ 3 ตารางแสดงการเปรียบเทียบจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ย้อนหลัง 4 ปี

ตำบล ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
ตำบลปากเกร็ด 37,795 37,744 36,108 36,608
ตำบลบางพูด 63,264 63,207 63,806 63,331
ตำบลบ้านใหม่ 31,550 31,885 34,452 34,977
ตำบลบางตลาด 47,946 47,789 46,669 45,347
ตำบลคลองเกลือ 9,292 9,349 9,560 9,655
รวม 189,847 189,974 190,595 189,918

ข้อมูล ณ กันยายน 2565

จากข้อมูลในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นจำนวนประชากรในช่วงระยะเวลาสี่ปี (พ.ศ.2560 - 2563) โดยลดลงจากปี 2560 เป็นจำนวน 491 คน ทั้งนี้ ยังไม่รวมกลุ่มประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยไม่ปรากฏข้อมูลในระบบทะเบียนราษฏร ซึ่งมีจำนวนมากและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้

ตารางที่ 4 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดแยกตามกลุ่มอายุ ย้อนหลัง 4 ปี

ตำบล อายุ 1-6 ปี (ก่อน-ปฐมวัย) อายุ 7-17 ปี (ประถม-มัธยม) อายุ 18-59 ปี (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง) อายุ 60 ขึ้นไป
    2560      2561      2562       2563       2560       2561       2562  2563     2560       2561       2562   2563     2560       2561       2562   2563
ตำบลปากเกร็ด 2,636 2,538 2,450 2,848 5,964 5,478 5,485 4,583 23,253 23,182 23,259 21,334 5,922 6,546 6,356 7,231
ตำบลบางพูด 4,506 4,377 4,430 4,770 8,767 8,097 8,103 8,554 41,124 41,012 41,198 40,348 8,965 9,721 9,468 9,542
ตำบลบ้านใหม่ 2,275 3,078 3,156 3,218 4,541 7,108 7,623 7,128 20,656 28,388 27,662 27,500 4,164 9,215 9,120 9,420
ตำบลบางตลาด 3,105 2,440 2,482 2,749 7,820 4,164 4,105 4,227 28,553 20,676 21,192 21,668 8,557 4,605 4,510 4,686
ตำบลคลองเกลือ 446 468 344 453 1,007 875 825 802 5,934 5,951 5,967 5,969 1,917 2,055 2,218 2,326
รวม 12,968 12,901 12,862 14,038 28,099 25,722 26,141 25,294 119,520 119,209 119,278 116,819 29,525 32,142 31,672 33,205

 ข้อมูล ณ กันยายน 2563

5.ลักษณะภูมิประเทศ

ด้วยพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่าที่ราบกรุงเทพ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม จึงได้มีการขุดคูคลองเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่สวนไร่นา ด้วยสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน กลายเป็นพื้นที่รองรับการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย หน่วยงานราชการ แหล่งธุรกิจ เขตอุตสาหกรรม ศาสนสถาน และโรงเรียน จนกลายเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่นแล้ว คูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติ เดิมเป็นพื้นที่ในการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่สวนไร่นา แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่รองรับการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานที่ดิน อำเภอปากเกร็ด พบว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลปากเกร็ด มีคูคลองแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ดังนี้

ตารางที่ 5 ตารางแสดงรายชื่อคู คลอง ลำกระโดง และลำรางสาธารณประโยชน์ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

คลองสาธารณะ ลำรางสาธารณะ ลำกระโดงสาธารณะ คูน้ำสาธารณะ
1. คลองบางตลาด 1. ลำรางตาบุญ 1. ลำกระโดงสาธารณะ 1. คูวัดหงษ์ทอง
2. คลองทองหลาง 2. ลำรางยายพ่วง    
3. คลองบางพัง 3. ลำรางมติชน    
4. คลองบางพัง 4. ลำรางบ้านช่อง    
5. คลองส้ม 5. ลำรางแวะ    
6. คลองวัดช่องลม 6. ลำรางดงตาล    
7. คลองบ้านเก่า 7. ลำรางหัวสิงห์    
8. คลองบ้านใหม่ 8. ลำรางหนองใหญ่    
9. คลองส่วย 9. ลำรางขี้เหล็ก    
10. คลองอ้อมเกาะ 10. ลำรางควาย    
11. คลองโพธิ์ 11. ลำรางเต่าดำ    
12. คลองตาล 12. ลำรางหนองตาเกิ้น    
13. คลองสามง่าม      
14. คลองเกลือ      
15. คลองตรง      
16. คลองนา      
17. คลองวัดกลางเกร็ด      
       

ที่มา : เทศบาลนครปากเกร็ด 2559

(พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๕๔๓)
สถานะการคลัง

 

1.รายรับ

2.รายจ่าย

3.รายจ่ายจำแนกตามแผนงาน

 

4.เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
ประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
- รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552
ประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552
- รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553
ประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553
- รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553

 

5.รายจ่ายในการพัฒนา

รายจ่ายในการพัฒนา ปี2551
- รายการครุภัณฑ์/รายการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปี 2551
- ประชาสัมพันธ์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
รายจ่ายในการพัฒนา ปี2552
ประชาสัมพันธ์งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
รายจ่ายในการพัฒนา ปี2553
- ประชาสัมพันธ์งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

 

6.รายงานงบการเงิน (รายไตรมาส)

  

รายงานงบการเงิน ปี 2551
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

  

รายงานงบการเงิน ปี 2552
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

  

รายงานงบการเงิน ปี 2553
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

  

รายงานงบการเงิน ปี 2554
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

  

รายงานงบการเงิน ปี 2555
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

  

รายงานงบการเงิน ปี 2556
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

  

รายงานงบการเงิน ปี 2557
ไตรมาสที่1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)
ไตรมาสที่4 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบรายรับ-รายจ่าย (อ่านรายละเอียด)

 

7.การโอนเงิน

การโอนเงิน ปี2556
ครั้งที่ 41-64 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)
ครั้งที่ 2-3 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)
ครั้งที่ 1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)
การโอนเงิน ปี2555
ครั้งที่ 2 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)
ครั้งที่ 1 ประกาศเทศบาล (อ่านรายละเอียด) รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)

 

8.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี

งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี2556
ฉบับที่ 1 คำแถลงงบประมาณ (อ่านรายละเอียด) รายละเอียด (อ่านรายละเอียด)
ฉบับที่ 2 คำแถลงงบประมาณ (อ่านรายละเอียด) รายละเอียด (อ่านรายละเอียด)

 

9.งบแสดงฐานะการเงิน

งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี2556
ฐานะการเงิน เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2556 รายละเอียด (อ่านรายละเอียด)
ฐานะการเงิน เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 รายละเอียด (อ่านรายละเอียด)
ฐานะการเงิน เพียง ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 รายละเอียด (อ่านรายละเอียด)

 

10.แผนการใช้จ่ายเงินรายไตรมาส

แผนการใช้จ่ายเงินรายไตรมาส ปี 2556
ไตรมาส 4 แผนการใช้จ่ายเงินรวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี (อ่านรายละเอียด)
   
เสี้ยว...ประวัติศาสตร์


  ปากเกร็ด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งจังหวัดนนทบุรีนั้น เดิมเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีไทย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงโปรดให้ยกฐานะของ บ้านตลาดขวัญขึ้นเป็นเมืองนนทบุรี บริเวณตัวเมืองดั้งเดิมขณะนั้น คือ ท้องที่ตำบลบางกระสอในปัจจุบัน

ในปีพุทธศักราช ๒๑๗๙ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองอ้อมใหญ่ไปทะลุคลองบางกรวยตอนใต้ของวัดเขมาภิรตาราม ยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร คลองนี้ถูกกระแสน้ำที่ไหลแรงขุดเซาะจนกว้างมาก กลายเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราวปีพุทธศักราช ๒๒๐๘ ทรงเห็นว่า การที่แม่น้ำเปลี่ยนทิศ ทำให้ข้าศึกประชิดเมืองได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย

พุทธศักราช ๒๒๖๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้ทรงโปรดให้ขุดคลองลัดเกร็ด ที่อำเภอปากเกร็ด ความยาวได้ ๓๙ เส้นเศษจวบจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๗ เมืองนนทบุรีเป็นยุทธภูมิระหว่างเรือกำปั่นอังกฤษกับพม่า และถูกพม่ายกค่ายเข้าเมืองในช่วงเหตุการณ์นี้ และจนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ตั้งของเมืองนนทบุรี จึงได้มีการโยกย้ายอีกครั้งเป็นบริเวณที่ตั้งในปัจจุบัน

ประชากรของจังหวัดนนทบุรี ประกอบไปด้วยชนชาวไทยที่สืบเชื้อสาย มาจากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ แขก เป็นต้น โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวไทยเชื้อสายมอญ อพยพมาอยู่ในจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งปรากฏหลักฐานในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยดังนี้
ในจังหวัดนี้ มีชาวไทยที่สืบเชื้อสายมาจากมอญอยู่มากแถวอำเภอปากเกร็ด ตั้งแต่ปากคลองบางตลาด ฝั่งเหนือลำแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันออกและตะวันตก ตำบลอ้อมเกร็ด เหนือคลองบางภูมิขึ้นไป รวมทั้งเกาะเกร็ดด้วย

เดิมอำเภอปากเกร็ด ตั้งที่ว่าการอำเภอที่วัดสนามไชย มีตำบล ๑๐ ตำบล หมู่บ้าน ๑๖๘ หมู่บ้าน พื้นที่ของอำเภอปากเกร็ดนั้นมีที่นามากกว่าที่สวน โดยสวนมีทุเรียนและสวนส้มเขียวหวาน เป็นไม้ยืนและมีผลไม้อื่นเป็นไม้แซม นอกจากการทำนาทำสวนแล้ว ยังมีการทำหัตถกรรมเครื่องดินเผาของบ้านเกาะเกร็ด โดยชาวบ้านที่ประกอบอาชีพนี้เป็น คนไทยเชื้อสายมอญ ที่ได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การทำเครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ดนิยมสลักลวดลายอย่างสวยงาม จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของปากเกร็ด

ปัจจุบันนี้ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอำเภอปากเกร็ดคือพื้นที่ของเทศบาลนครปากเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ ๕ ตำบล คือ ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ และสภาพพื้นที่สวนผลไม้ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนสภาพเป็นที่รองรับการขยายตัว เป็นที่พักอาศัยและอุตสาหกรรม จนอาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของปากเกร็ดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้วย

 

...
...

 

ประวัติความเป็นมา


  เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเรียกว่า สุขาภิบาลปากเกร็ด จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2498 รวมเวลาการเป็นสุขาภิบาล 36 ปี 4 เดือน โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 36.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกทั้งหมดใน 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน และด้วยความเจริญที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเมืองปริมณฑลรอบกรุงเทพมหานคร ทำให้พื้นที่การเกษตร แปรเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกับนโยบายของจังหวัดนนทบุรี ในช่วงปี 2535 สุขาภิบาลปากเกร็ด จึงได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลปากเกร็ดเป็นเทศบาลตำบลปากเกร็ด ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 

คณะเทศมนตรีชุดแต่งตั้ง (ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2535 - 30 เมษายน 2535) ประกอบด้วย
- นายกัมปนาท เหมือนนาค (นายกเทศมนตรี)
- นายอดุลย์ รามโกมุท (เทศมนตรี)
- นายสุวัฒน์ ฮะสมบุญ (เทศมนตรี)

คณะเทศมนตรีชุดเลือกตั้ง (ดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม 2535 - 4 กุมภาพันธ์ 2539) ประกอบด้วย
- นายเต็ม พิกุลทอง (นายกเทศมนตรี)
- นายชลัง เปิดชั้น (เทศมนตรี)
- นายวิชัย บรรดาศักดิ์ (เทศมนตรี)
มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน

สำนักงานเทศบาลตำบลปากเกร็ด เป็นสำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่บนชั้น 3 ของอาคารที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด ถนนแจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ระยะทางห่างจากจังหวัดนนทบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งต่อมาก็ได้ปรับปรุงอาคารเพิ่มเติม เพื่อความสะดวกในการให้บริการประชาชน ดังนี้

- อาคารที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด ชั้น 1 เดิมเป็นที่จอดรถ ปรับปรุงเป็นที่ทำการของสำนักปลัดเทศบาล งานตรวจสอบภายใน กองการศึกษา และสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลปากเกร็ด
- อาคารหอประชุมของอำเภอเดิม ปรับปรุงเป็นที่ทำการของกองช่าง และกองคลังบางส่วน
- อาคารที่ทำการของสุขาภิบาลเดิม ปรับปรุงเป็นที่ทำการของกองอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ต่อเติมอาคารหน้าที่ทำการสุขาภิบาลเดิมเป็นที่ทำการของกองคลังและอาคารแผนที่ภาษี และในที่สุดเทศบาลก็ได้เตรียมการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลใหม่ โดยได้ออกแบบไว้เป็นอาคาร 9 ชั้น ณ พื้นที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานเดิม ในวงเงินงบประมาณ 86 ล้านบาท

เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ฐ า น ะ จากเทศบาลตำบล... เป็นเทศบาลเมืองปากเกร็ด หลังจากที่สุขาภิบาลปากเกร็ดได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลปากเกร็ด ได้เพียง 3 ปีเศษ เทศบาลตำบลปากเกร็ด จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองปากเกร็ด ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเจริญของพื้นที่ และจำนวนประชากรตลอดจนรายได้ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับคณะเทศมนตรี มีนโยบายในการขยายการพัฒนาของเทศบาลให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ของเมืองที่ต้องการองค์การที่มีศักยภาพในการบริหารเพิ่มขึ้น

เทศบาลตำบลปากเกร็ดจึงได้รับการเปลี่ยน แปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองปากเกร็ดตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 32 ก. ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2538 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 คณะเทศมนตรี ประกอบด้วย

- นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี
- นายเต็ม พิกุลทอง เทศมนตรี (9 พฤษภาคม 2539 - 18 กุมภาพันธ์ 2541)
- นายชลัง เปิดชั้น เทศมนตรี (20 เมษายน 2541 - 7 กรกฎาคม 2542)
- นายบุญเสริม ปิ่นกาญจนนาวี เทศมนตรี (9 พฤษภาคม 2539 - 18 กุมภาพันธ์ 2541)
- นายนิพนธ์ หวังพราย เทศมนตรี
- นายสุทธิ อุทานวรพจน์ เทศมนตรี
- นายสมศักดิ์ พุ่มพวง เทศมนตรี
มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 18 คน

เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองปากเกร็ดเป็นเทศบาลนครปากเกร็ด โดยศักยภาพของเมืองปากเกร็ด นั้นมีความพร้อมเพียงพอในการที่จะเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครได้ ประกอบกับกระแสนโยบายในการกระจายอำนาจและการยกฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองปากเกร็ด จึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานะของเทศบาลเมืองปากเกร็ดอีกครั้ง เป็นเทศบาลนครปากเกร็ด นับว่าจังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศที่มี เทศบาลนครถึง 2 แห่ง อันแสดงให้เห็นถึงความพร้อมขององค์กร ในการเห็นถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นหน่วยงานซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จะได้บริหารงานเพื่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทศบาลเมืองปากเกร็ด เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครปากเกร็ด ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับ กฤษฎีกา เล่มที่ 117 ตอนที่ 10 ก ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2543 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
คณะเทศมนตรี ชุดแรกของเทศบาลนครปากเกร็ด ประกอบด้วย

- นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี
- นายสุทธิ อุทานวรพจน์ เทศมนตรี
- นายสุนิพนธ์ ฉุยกลิ่น เทศมนตรี
- นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร เทศมนตรี
- นายปิยะมิตร มณีจักร เทศมนตรี
มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 24 คน

อาณาเขตของเทศบาลนครปากเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางตลาด และตำบลคลองเกลือ รวม 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 36.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,525 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ : อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ทิศใต้ : เทศบาลนครนนทบุรี
ทิศตะวันออก : เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันตก : แม่น้ำเจ้าพระยา (ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด)