การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2563 (ฉบับสมบูรณ์)
ชื่อโครงการ การสํารวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนคร ปากเกร็ด ประจําปี 2563 คณะผู้วิจัย อาจารย์พรเทพ พัฒธนานุรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริกร กาญจนสุนทร อาจารย์ ดร.ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์สานิต ฤทธิ์มนตรี อาจารย์ ดร.กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้ นางสาวรองใจ กําเหนิดผล นางสาวสันทนา ประเสริฐวัฒนากร นางสาวทิพวัลย์ รามรง ปีที่ทําวิจัย พ.ศ. 2563 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของ เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยกําหนดขอบเขตการศึกษา 5 งานบริการ ได้แก่ 1) การให้บริการ ฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพ 2) การจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด 3) การให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุขในชุมชน 4) การให้บริการงานทะเบียนราษฎร และงานบัตรประจําตัวประชาชนที่สํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด ศูนย์การแพทย์ปัญญา นันทภิกขุ ชลประทาน และ 5) การให้บริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของเทศบาลนครปากเกร็ด โดยกําหนดเนื้อหาความพึงพอใจ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความพึงพอใจด้านขั้นตอนการให้บริการ 2) ความ พึงพอใจด้านช่องทางการให้บริการ 3) ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และ 4) ความพึงพอใจ ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กําหนดกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการของเทศบาลนครปากเกร็ด 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้รับบริการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพ จํานวน 250 คน 2) ผู้ปกครองนักเรียนของ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด จํานวน 322 คน 3) ผู้รับบริการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันต สาธารณสุขในชุมชน จํานวน 191 คน 4) ผู้รับบริการงานทะเบียนราษฎรและงานบัตรประจําตัว ประชาชนที่สํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน จํานวน 335 คน และ 5) ผู้รับบริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของเทศบาลนครปากเกร็ด จํานวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสําหรับการทดสอบหาความแตกต่างของ ตัวแปร คือ ค่า t-test และค่า F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทําการ เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe' กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลนคร ปากเกร็ด อยู่ในช่วงเฉลี่ยร้อยละ 91.68 - 93.24 มีค่าคะแนน 5 คะแนน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทุกงานบริการและทุกด้าน โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTQ0NjMy