การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2563 (ฉบับสมบูรณ์)
197 3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุข ในชุมชน ของเทศบาลนครปากเกร็ด การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุข ในชุมชน ของเทศบาลนครปากเกร็ด นําเสนอผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ 1) ลักษณะพื้นฐาน ส่วนบุคคล 2) การเข้ารับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุขในชุมชน 3) การรับรู้ ข่าวสารเกี่ยวกับการให้บริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุขในชุมชน 4) ความพึงพอใจ ของผู้รับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุขในชุมชน ต่อการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านขั้นตอนการให้บริการ (2) ด้านช่องทางการให้บริการ (3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (4) ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ 6) การทดสอบสมมติฐาน และ 7) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ 1 ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ผลการศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้รับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้าน ทันตสาธารณสุขในชุมชนของเทศบาลนครปากเกร็ด ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตําบลที่พักอาศัย มีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 เพศและอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70.70 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 29.30 สําหรับอายุพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 55.90 ปี โดยมีอายุ 61 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 45.00 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 46 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.60 และอายุระหว่าง 31-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 10.00 (ตารางที่ 90) ตารางที่ 90 จํานวนและร้อยละของผู้รับบริการโครงการสาธารณสุขเชิงรุกด้านทันตสาธารณสุข ในชุมชน ของเทศบาลนครปากเกร็ด จําแนกตามเพศและอายุ (n=191) เพศและอายุ จํานวน (คน) ร้อยละ เพศ ชาย 56 29.30 หญิง 135 70.70 รวม 191 100.00
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTQ0NjMy