การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2563 (ฉบับสมบูรณ์)
1 บทที่ 1 ความสําคัญของปัญหา การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรูปแบบการปกครองที่จําเป็น และมีความสําคัญในทางการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตย ภายใต้แนวคิดการกระจายอํานาจที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทําบริการสาธารณะได้โดยอิสระ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ตนเองเพื่อการสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน จะได้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และตรงกับ ความมุ่งประสงค์ของชุมชน จึงเป็นผลให้การปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาท และมีความสําคัญมากขึ้น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ให้ความสําคัญกับการปกครองท้องถิ่น เป็นอย่างมาก ทําให้มีการออกเป็นพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 10, 11, 12) พ.ศ. 2496 รวมทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ได้ให้ความสําคัญ กับการดูแล และจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น อีกทั้งสภาพความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รายได้และจํานวนประชากร ในเขตพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ดที่เพิ่มมากขึ้น “เทศบาลนครปากเกร็ด” จึงได้ยกฐานะจากเทศบาล เมืองปากเกร็ดมาเป็นเทศบาลนครปากเกร็ดในปัจจุบัน ซึ่งมีภารกิจหลัก คือ การให้บริการสาธารณะ (Public Service) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล นโยบายของรัฐบาล และนโยบาย จังหวัดนนทบุรีเป็นกรอบในการพัฒนาและมีแผนพัฒนาเทศบาลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น โดยกําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลนครปากเกร็ดให้เป็น “แหล่งการศึกษาชั้นดี ที่อยู่อาศัยชั้นนํา ถิ่นวัฒนธรรมดั้งเดิม ประชาชนร่วมเสริมการพัฒนา” (เทศบาลนครปากเกร็ด, 2558) เทศบาลนครปากเกร็ด เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน และเป็นหน่วยงานรัฐ ที่จัดการให้บริการสาธารณะตามภารกิจและพื้นที่รับผิดชอบ โดยได้นําแนวทางการบริหารงานแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management: RBM) ที่ยึดประชาชนเป็นหลัก มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน เป้าหมายคือ สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ประชาชนต่อการให้บริการ โดยคํานึงถึงฐานคิดที่ว่า “ความรู้สึกที่ดีและความพึงพอใจของประชาชนต่องานบริการเกิดจากการได้รับการสนองตอบต่อ ความต้องการที่ดี รวดเร็ว ตรงต่อปัญหา” โดยเทศบาลจะต้องบริการและอํานวยความสะดวกแก่ ผู้รับบริการ ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านกระบวนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอํานวยความสะดวก และด้านคุณภาพของงานบริการ เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการเกิด ความพึงพอใจสูงสุดและประทับใจต่อองค์กรโดยรวม ที่สําคัญมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ที่ถูกตราไว้เป็นพระราชกฤษฎีกาที่หน่วยงานของรัฐต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ดังนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการทุกระยะ เพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการรวมทั้งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MTQ0NjMy